Saturday, August 29, 2009

เรือมอันเร จ.สุรินทร์

Read More

สถานที่ท่องเที่ยว


ปราสาทเขาพนมรุ้ง
ที่ตั้ง บ้านตาเป๊ก ตำบลตาเป๊ก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
.....ประวัติ ปราสาทเขาพนมรุ้งเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ปรางค์อิฐองค์แรกสร้างขึ้นเมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรตที่ ๑๕ และเชื่อกันว่าได้รับการบูรณะซ่อมแซมโดยพระเจ้าราเชนวรมันที่ ๒ (พ.ศ.๑๔๘๙–๑๕๑๑) และพระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ (พ.ศ.๑๕๑๑–๑๕๔๔) กษัตริย์เขมรซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์ศาสนาฮินดูลัทธิไศวะนิกาย ลัทธิดังกล่าวรุ่งเรืองตลอดพุทธศตวรรษที่ 17 จนถึงพุทธศตวรรษที่18 ในสมัยของพระ เจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงถูกเปลี่ยนเป็นอาคารทางพุทธศาสนาลัทธิมหายาน
องค์ประกอบของโบราณสถาน
.....ปราสาทเขาพนมรุ้ง ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างจากเชิงเขา-ยอดเขา ตามลำดับคือ สิ่งก่อสร้างนอกระเบียงชั้นนอก, ระเบียงชั้นนอก,ระเบียงคดชั้นใน และโบราณสถานที่สร้างด้วยหินทรายและศิลาแลงภายในระเบียงคดชั้นในจำนวน 6 หลัง ดังนี้
......บันไดต้นทาง จากตระพักเข้าด้านล่างทางทิศตะวันออก ก่อด้วยศิลาแลงเป็นชั้น ๆ 3 ชุด สุดบันไดเป็นชาลารูปกากบาท พลับพลา(มีชื่อตามทะเบียนโบราณสถานว่าโรงช้างเผือกพนมรุ้ง) เป็นอาคารโถงสร้างด้วยหินทราย และศิลาแลง มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 6.40X20.40 เมตร ตั้งอยู่เยื้องชาลารูปกากบาทไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 13 เมตร อาคารหลังนี้คงจะใช้เป็นที่พักเปลื้องเครื่องทรงของกษัตริย์ และจัดกระบวนเสด็จก่อนที่จะเสด็จขึ้นไปประกอบพิธีกรรมบนปราสาทเขาพนมรุ้ง เมื่อพิจารณาจากวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างคือ มีการใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างและลวดลายกลีบบัวที่จำหลักบนหัวเสาและลายดอกไม้มีกลีบบนยอดเสา เป็นลักษณะของศิลปะขอมแบบบายน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 แต่เศียรนาคที่กรอบหน้าบันเป็นลักษณะของศิลปะขอมแบบคลัง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 แสดงถึงการนำวัสดุเก่ามาใช้ ซึ่งอาจจะเป็นวัสดุเก่าจากที่แห่งอื่น หรือเป็นวัสดุเก่าของอาคารหลังนี้เองก็ได้ทางดำเนิน เป็นทางเดินที่ต่อมาจากบันไดชาลารูปกากบาท ปูพื้นด้วยศิลาแลงขอบเป็นหินทราย มีขนาด 160X9.20 เมตร บนขอบหินทรายเป็นเสาหินทรายยอดคล้ายดอกบัวตูม สูง 1.60 เมตร จำนวน 68 ต้น ตั้งเรียงกันเป็นระยะ ๆ ตรงกันทั้ง 2 แถว สะพานนาคราช สร้างด้วยหินทราย มีแผนผังเป็นรูปกากบาท มี 3 ช่อง คือ ช่องแรกที่หน้าซุ้มประตูทางเข้าสู่ปราสาท มีขนาด 8.20X20 เมตรยกพื้นสูงจากถนน 1.50 เมตร ราวสะพานทำเป็นลำตัวพญานาค 5 เศียร สะพานนาคราชช่วงนี้เป็นจุดเชื่อมทางดำเนินกับบันไดทางขึ้นปราสาทและทางสู่สระน้ำช่วงที่ 2 อยู่ภายในระเบียงคดตรงหน้าปรางค์ประธานมีขนาด 5.20X12.40 เมตร ยกระดังสูง 3.40X9.9 เมตร อายุราวพุทธ ศตวรรษที่ 17
บันไดขึ้นปราสาท สร้างด้วยหินทราย ตั้งอยู่ต่อจากสะพานนาคราชช่วงแรก เป็นทางเดินขึ้นไปยังลานบนยอดเขา มีขนาด 16X52 เมตร สูง 10 เมตรมี 5 ชั้น แต่ละชั้นมีชานพัก บันไดขึ้นปราสาทนี้มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 ทางสู่ปราสาท คือ บันไดทางขึ้นทั้งสองข้างของบันไดขึ้นปราสาทชั้นที่ 4 ระเบียงชั้นนอก เป็นทางเดินโล่งยกพื้นเตี้ย ๆ ปูพื้นด้วยศิลาแลง บรรจบกับทางเดินเข้าสู่ปราสาททางด้านข้างทั้งสองข้าง บริเวณลานภายใน วงล้อมของระเบียงชั้นนอกด้านทิศใต้ทางซีกตะวันออกมีร่องรอยว่าเคยมีสิ่งก่อสร้างอื่นอยูด้วย ซุ้มประตูและระเบียงคดชั้นใน สร้างด้วยหินทราย และศิลาแลง ลักษณะเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลังคาคลุมแต่ไม่ทะลุถึงกันเนื่องจากทำผนังกั้นเป็นช่อง ๆ ระเบียงคดทางด้านทิศตะวันออก และตะวันตกมีขนาด 2.6X59 เมตร ด้านทิศเหนือ-ใต้ ยาวประมาณ 68 เมตร ระเบียงทั้ง 4 ด้าน มีซุ้มประตูอยู่ตรงกลางด้านละ 1 ประตูและมีซุ้มประตูรองอีกด้านละ 2 ประตู ยกเว้นด้านทิศเหนือมีซุ้มประตูกลางเพียงประตูเดียว ระเบียงด้านทิศตะวันออกเจาะเป็นช่องตื้น ๆ ผนังด้านนอกสลักเป็นหน้าต่างปลอม ผนังด้านในเจาะช่องหน้าต่างจริงเป็นระยะ ๆ ระเบียงด้านตะวันตกมีแต่หน้าต่างหลอก ด้านทิศเหนือและใต้เจาะช่องหน้าต่างที่ผนังด้านใน ภายในระเบียงคดชั้นในประกอบด้วยโบราณสถานสร้างด้วยหินทรายและศิลาแลง 6หลังคือ ก.ปรางค์ประธาน สร้างด้วยหินทราย ตั้งอยู่กลางลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุม ขนาด 8.20X8.20 เมตร สูง 27 เมตรมีมุข 2 ชั้น ทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก อายุสมัยราวพุทธศตวรรษที่ 16-17
ข.ปรางค์น้อย สร้างด้วยหินทรายและศิลาแลง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปรางค์ประธาน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุมขนาด 6X6 เมตร ส่วนยอดหักหายไป อายุสมัยราวพุทธศตวรรษที่ 16
ค.ปรางค์อิฐ 2 องค์ สร้างด้วยอิฐและหินทราย ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับปรางค์ประธานด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ องค์หนึ่งมีขนาด 5X5 เมตร หันหน้าไปทางทิศใต้ อายุสมัยราวกลางพุทธศตวรรษที่ 15
ง.บรรณาลัย สร้างด้วยศิลาแลงเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีประตูเข้า-ออกด้านเดียว หลังคาเป็นรูปประทุนเรือ มี 2 หลัง คือ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปรางค์ประธาน มีขนาด 11.60X7.10 เมตร สูง 3 เมตร อายุสมัยราวพุทธศตวรรษที่ 18(กรมศิลปากร,ปราสาทพนมรุ้ง 2531) กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งและบูรณะปราสาทเขาพนมรุ้งด้วยวิธีอนัสติโลซิส (Anastylosis)ตั้งแต่ปี พ.ศ.2514-2531อายุสมัยประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 15-18 (อมรา ศรีสุชาติ, 2532 หน้า 105-106)
ประโยชน์ใช้สอย เทวาลัยในศาสนาฮินดู
การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม52 ตอน 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478
การประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอนที่ 141 วันที่ 9 พฤศจิกายน 2519เนื้อที่ประมาณ 451 ไร่ – งาน 11 ตารางวา

Read More

อาหารไทย




ปลากระพงขาวนึ่งพริกมะนาว
ส่วนผสม
ปลากะพงขาว1 ตัว
พริกขี้หนูเขียวแดงหั่นฝอย 10 เม็ด
กระเทียม 20 กลับ


ต้นหอมหั่นท่อนยาวประมาณ 1 1/2 นิ้ว 2 ต้น
น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนชา
น้ำซุป 3/4 ถ้วย
น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนชา
เกลือป่น
มะนาวหั่นแว่นบางสำหรับตกแต่ง 2 ผล
กระเทียมสำหรับโรยหน้า 1/4 ถ้วย


วิธีทำ


1. ล้างปลา ขอดเกล็ดปลา ควักเหงือกและไส้ออก ตัดปลายหางปลาออก ล้างให้สะอาด บั้งตัวปลาทั้งสองด้าน จัดใส่จานสำหรับนึ่ง


2. โขลกพริกขี้หนูกระเทียมให้ละเอียด ใส่ในน้ำซุป ปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย เกลือป่น ซีอิ๊วขาวและน้ำมะนาว ชิมรส เมื่อรสดี นำไปราดบนตัวปลา


3. นำไปนึ่งในน้ำเดือด ไฟแรง นานประมาณ 15-20 นาที จนสุก ยกลงตกแต่งด้วยมะนาวหั่นเป็นแว่น และพริกขี้หนูหั่น

Read More

สรรพคุณผลไม้ไทย



มังคุด ( Mangosteen )

เป็นผลไม้ที่เนื้อในของผลมีรสเปรี้ยวอมหวาน กลมกล่อมและได้รับการยกย่อง
ให้เป็นราชินีของผลไม้ทั้งปวง เนื่องจากมีกลีบรองดอกติดอยู่ที่ขั้วคล้ายมงกุฏราชินี ทั้งในเปลือก
มังคุดยังมี สารแทนนิน และมี สารแมงโกสติน ( Mangostin ) ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ที่ทำให้เกิดหนอง อยู่มากถึง 7 - 14 เปอร์เซ็นต์
ในแง่สมุนไพร เปลือกมังคุดจึงมีสรรพคุณในการใช้รักษาโรคผิวหนัง และนิยมนำไป
สกัดทำเป็นสบู่ ครีมพอกหน้า และยารักษาสิวฝ้าได้อีกด้วย อีกทั้งส่วนต่างๆ ของมังคุดยังสามารถ
ใช้เป็นยารักษาโรคได้ ดังนี้
แก้แผลพุพอง
- เปลือกมังคุดแห้ง
- ใช้เปลือกมังคุดแห้งของผลแก่ฝนกับน้ำปูนใส
เป็นหนองห้ได้ตัวยาข้นๆ ทาบริเวณที่เป็นแผลวันละ 2 -3 ครั้ง
กลากเกลื้อนอาการจะดีขึ้น หรือ ใช้เปลือกมังคุดแห้ง 1 - 2 ผล ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ล้างแผลวันละ 3 - 4 ครั้ง ก็ได้เช่นเดียวกัน
รักษาแผลในปาก
- เปลือกมังคุด
-นำไปต้ม ใช้เป็นยากลั่วคอ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และต้านเชื้อราในปาก
รักษาแผลน้ำกัดเท้า
- เปลือกมังคุดแห้ง
- นำเปลือกมังคุดที่ตากแดดจนแห้งไปฝนกับน้ำให้ได้ความเข้มข้น ทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 - 4 ครั้ง จะช่วยให้แผลแห้งเร็วขึ้น
แก้ท้องเสีย
- เปลือกแห้งของ
- ใช้เปลือกมังคุดแห้ง 1 ผล ต้มกับน้ำให้เดือดแก ้ท้องร่วงเรื้อรังผลแก่5 - 10 นาที รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ
บิด ถ่ายเป็นมูกเลือดทุกๆ 4 ชั่วโมง หรือใช้เปลือกมังคุดแห้งครึ่งผลย่างไฟให้เกรียม บดเป็นผงละลายในน้ำครึ่งแก้ว
ีรับประทานทุก 2 ชั่วโมง อาการจะทุเลา

Read More

Saturday, August 22, 2009

การแต่งกาย


ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมประจำชาติที่เป็นของตนเองมาเป็นระยะเวลายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นศิลปะไทย มารยาทไทย ภาษาไทย อาหารไทย และชุดประจำชาติไทย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีคุณค่า มีความงดงามบ่งบอกถึงเอกลักษณ์แห่งความเป็น "ไทย" ที่นำความภาคภูมิใจมาสู่คนในชาติ การแต่งกายของไทยโดยเฉพาะในยุครัตนโกสินทร์ซึ่งมีอายุยาวนานมากกว่า ๒๐๐ ปีนั้น ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ นับตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตอนกลาง ยุคเริ่มการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือ ยุค "มาลานำไทย" และ จนปัจจุบัน "ยุคแห่งเทคโนโลยีข่าวสาร" แต่ละยุคสมัยล้วนมีรูปแบบการแต่งกายที่เป็นของตนเองซึ่งไม่อาจสรุปได้ว่า แบบใดยุคใดจะดีกว่า หรือ ดีที่สุด เพราะวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม ล้วนต้องมีการปรับเปลี่ยนบูรณาการไปตามสิ่งแวดล้อมของสังคมแล้วแต่สมาชิกของสังคมจะคัดสรรสิ่งที่พอเหมาะพอควรสำหรับตน พอควรแก่โอกาส สถานที่และกาลเทศะ

Read More

ขนมไทย



ขนมชั้น
ส่วนผสม
แป้งข้าวเจ้าชนิดผงอย่างดี 2 ถ้วยตวง
แป้งมันหรือแป้งท้าวยายม่อม 2 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 6 ถ้วยตวง
น้ำลอยดอกมะลิ 8 ถ้วยตวง
กะทิ 6 ถ้วยตวง
น้ำใบเตย สีชมพู (สีผสมอาหาร)

วิธีทำ
1. ต้มน้ำตาลกับน้ำลอยดอกมะลิ 2 ถ้วยตวง พอเดือดและน้ำตาลละลาย แล้วกรอง ทิ้งไว้ให้เย็น2. ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน กับกะทิน้ำเชื่อม คนให้เข้ากัน3. แบ่งแป้งออกเป็นสีขาว 2 ส่วน สีชมพู และสีใบเตย 1 ส่วน 4. นำถาดใส่บนลังถึง ตั้งบนไฟแรงๆ พอน้ำเดือดเปิดฝา ตักแป้งสีขาว เทใส่ให้บางๆ ปิดฝานึ่ง นึ่งจนสุก จะมีลักษณะใส5. เปิดฝาลังถึง ตักแป้งสีชมพูใส่ลงอีก ทำสลับกันจนหมดแป้ง6. สีเขียวใบเตยก็ทำเช่นเดียวกับสีชมพู พอสุกทิ้งไว้ให้เย็น ตัดเป็นรูปตามชอบ

Read More

Friday, August 21, 2009

สมุนไพรเพื่อความงามสำหรับผิวหน้า


สมุนไพรเพื่อความงามสำหรับผิวหน้าใบหน้า คือ ด่านแรกที่เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจของผู้พบเห็น แต่หลายๆคนกำลังประสบปัญหาผิวหน้าไม่เรียบสวย เพราะเม็ดสิวและรอยแห้งกร้านด้วยจุดด่างดำของกระและฝ้า จนต้องเสียเงินทองมากมายเพื่อเข้าสถานเสริมความงาม หรือหาซื้อยามารักษา จึงอยากแนะนำให้ใช้สมุนไพรพืชผักและผลไม้ที่มีอยู่ทั่วไป แต่มีคุณประโยชน์มากมายทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และสารบำรุงผิวธรรมชาติที่ช่วยดูแลผิวพรรณให้ชุ่มชื้นผ่องใสอ่อนไวอยู่เสมอ
ว่านหางจระเข้ (Aloe indica Royle)คุณค่าของว่านหางจระเข้มีมากมาย นอกจากใช้รักษาโรคแล้ว ยังใช้บำรุงผิว บำรุงเส้นผมได้ด้วย ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า มีแชมพูสระผม และเครื่องสำอางหลายอย่าง ที่ใช้ว่านหางจระเข้เป็นส่วนประกอบ และกำลังเป็นที่นิยมของคนทั่วไป เนื่องจากว่านหางจระเข้ มีคุณสมบัติสามารถช่วยให้กระบวนการเมตะโบลิซึม ทำงานได้เป็นปกติ ลดการติดเชื้อ สลายพิษของเชื้อโรค กระตุ้นการเกิดใหม่ ของเนื้อเยื่อส่วนที่ชำรุด ฉะนั้น ว่านหางจระเข้จึงถูกนำมาใช้ เพื่อบำรุงผิวพรรณ ผู้ที่ใช้ว่านหางจระเข้บำรุงผิวพรรณอยู่เป็นประจำ จะรู้สึกได้ชัดว่า ว่านหางจระเข้มีส่วนช่วย ให้ผิวพรรณผุดผ่อง สดชื่น มีน้ำมีนวล และยังสามารถขจัดสิว และลบรอยจุดด่างดำได้ด้วย
การใช้ว่านหางจระเข้ เพื่อบำรุงผิว โดยปอกเปลือกออก ใช้แต่เมือกวุ้นสีขาวใส ที่อยู่ภายใน ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการแพ้ ก่อนใช้ควรตรวจสอบว่า ตนเองจะเกิดอาการแพ้หรือไม่ โดยใช้น้ำที่ได้จากวุ้นสีขาว ของว่านหางจระเข้ ทาตรงบริเวณโคนหู แล้วทิ้งไว้สักครู่ ถ้าเกิดการระคายเคืองเป็นผื่นแดง แสดงว่าแพ้ ไม่เหมาะที่จะใช้กับผิวหน้าอีกต่อไป ถ้าไม่มีอาการแพ้ ก็สามารถใช้ได้ตลอด แต่บางคนก็จะเห็นผลได้เหมือนกัน เมื่อใช้ว่านหางจระเข้ทาบริเวณหัวสิว จะทำให้หัวสิวแห้งเร็ว
นอกจากนี้ ว่านหางจระเข้ยังสามารถลดความแห้งกร้าน และลดความมันของผิวหน้าได้ โดยคนที่มีผิวมัน ก็จะช่วยให้ลดความมัน คนที่มีผิวหน้าแห้ง ก็ยังรักษาความชุ่มชื่นของผิวไว้ได้

Read More